kruae.com
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ทักษะการจำแนก
ความหมายของการจำแนก (Classification)
การจำแนก เป็นกระบวนการที่ใช้ในการจัดจำพวกวัตการจำแนก เป็นกระบวนการที่ใช้ในการจัดจำพวกวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ต้องการออกเป็นหมวดหมู่ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในการจำแนกเป็นพวกๆนั้น จะต้องมีเกณฑ์ในการจำแนกเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภท พิจารณาจากลักษณะความเหมือนและความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าสิ่งที่นำมาจำแนกประเภทมีลักษณะนั้นร่วมกัน ก็จัดอยู่ในหมู่เดียวกัน และถ้าไม่มีลักษณะดังกล่าว ก็จำแนกออกเป็นอีกพวกหนึ่ง
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
ความหมายของการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inference)
การลงความคิดเห็นจากข้อมูล หมายถึง การอธิบายผลที่ได้จากการสังเกต โดยใช้ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม และเหตุผลหรือเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย เป็นการตอบเกินข้อมูลที่สังเกต
การลงความคิดเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ฉะนั้นในข้อมูลชุดเดียวกัน การลงความคิดเห็นของคน 2 คน อาจแตกต่างกัน
ข้อแตกต่างระหว่างการสังเกตและการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
การสังเกต เป็นการบอกสมบัติหรือลักษณะของวัตถุ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยการใช้ประสาทสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ลิ้น หรือกายสัมผัส ส่วนการลงความคิดเห็น เป็นการบรรยายหรืออธิบายผลของการสังเกต หรือการใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสัมผัสสิ่งของ หรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปกับข้อมูลดังกล่าว ดังตัวอย่าง
ข้อมูลจากการสังเกต | การลงความคิดเห็นจากข้อมูล |
1. มีรถ 2 คัน 2. รถคันสีแดงลากรถคันสีเขียว | 1. รถคันสีแดง ลากรถคันสีเขียว เพราะรถคันสีเขียวเสีย 2. รถคันสีแดงลากรถคันสีเขียว เพราะรถคันสีเขียวน้ำมันหมด |
การลงความคิดเห็นที่เชื่อถือได้นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 4 ประการ ดังนี้
1. ความถูกต้องของข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องการลงความคิดเห็นก็จะไม่ถูกต้องด้วย
2. ความกว้างของข้อมูล คือต้องมีข้อมูล มากเพียงพอและหลายๆด้าน ฉะนั้นการสังเกตและการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม จะนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้องได้
3. ประสบการณ์เดิม เพราะการลงความคิดเห็นนั้นส่วนหนึ่งจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมที่เราเคยพบเหตุการณ์นั้น ๆ ถ้าประสบการณ์เดิมเราเชื่อถือได้มาก โอกาสถูกก็มีมากด้วย
4. ความสามารถในการมองเห็น เราสามารถใช้หลักฐานให้เป็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ประโยชน์ของการลงความคิดเห็นจากข้อมูล มีดังนี้
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการสังเกต
2. ช่วยแนะสิ่งที่สงสัย
3. ช่วยแนะสาเหตุของปรากฏการณ์
4. ช่วยแนะสมมติฐาน
5. ช่วยแนะแหล่งที่มาของปรากฏการณ์
6. ช่วยบอกสาเหตุของปรากฏการณ์ที่แน่นอนได้ทักษะการสังเกต
ทักษะการสังเกต (Observation)
หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ลง ความเห็นของผู้สังเกต
ประเภทของข้อมูล
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลที่สังเกตได้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะหรือสมบัติ เรียกว่า “ข้อมูลเชิงคุณภาพ”
2. ข้อมูลที่เกี่ยวกบขนาดหรือปริมาณที่ได้จากการกะประมาณ เช่น บอกตัวเลข เรียกว่า “ข้อมูลเชิงปริมาณ”
3. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เช่น การสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสาร เมื่อถูกกระทำ เรียกว่า “ข้อมูลเชิงการเปลี่ยนแปลง”
การสังเกตเชิงคุณภาพ
เป็นการสังเกตลักษณะต่าง ๆโดยใช้ประสารทสัมผัสทั้ง 5 โดยไม่ต้องบอกปริมาณ เช่น บอก สี กลิ่น รส เสียง และความรู้สึกต่อผิวกาย
การสังเกตเชิงปริมาณ
เป็นการสังเกตโดยการกะประมาณโดยบอกเป็นจำนวน ตัวเลข ที่ต้องมีหน่วยกำกับไว้ด้วย หน่วยนี้ อาจเป็นหน่วยมาตรฐานเอสไอ (SI) เช่น เมตร กิโลกรัม หรือหน่วยอื่น ๆ เช่น เซนติเมตร องศาเซลเซียส มิลลิเมตร ฯลฯ เป็นต้น
การสังเกตเชิงการเปลี่ยนแปลง
หมายถึง การสังเกตวัตถุหรือสถานการณ์ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เอาวัตถุแช่ในน้ำหรือให้ความร้อน เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และต้องบอกเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น เมื่อแช่น้ำที่อุณหภูมิเท่าใด หรือ เมื่อใส่ภาชนะที่มีรูปร่างเป็นอย่างไร เป็นต้น
การลงความคิดเห็น เป็นการบรรยายหรืออธิบายผลของการสังเกต โดยเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ซึ่ง สามารถอธิบายได้ ดังนี้
ผลการสังเกต + ความคิดเห็นส่วนตัว การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัวที่ใส่ลงไป อาจต้องอาศัย ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม และเหตุผล
ขอบเขตที่ต้องคำนึงถึงในกาสังเกต มีดังนี้
1. ข้อจำกัดและข้อบกพร่องของประสาทสัมผัส เช่น สายตา ถ้าอยู่ไกลมาก หรือเล็กมากก็มองไม่เห็น หู ก็เช่นกัน ถ้าเสียงไกลมาก หรือเบามาก ก็ไม่ได้ยิน หรือแม้แต่ประสาทสัมผัสทางผิวกาย ซึ่งถ้าสัมผัส กับวัตถุที่อุณหภูมิแตกต่างกันมาก ๆ ในทันที จะบอกค่าได้คลาดเคลื่อนเช่นกัน
2. การขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสและการลดความคลาดเคลื่อน เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง เชื่อถือได้ ต้องหาแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
2.1 ใช้เครื่องมือช่วยขยายประสาทสัมผัส
2.2 ใช้การสังเกตซ้ำหลายๆครั้ง
2.3 ควรสังเกตให้ได้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณให้ได้มากที่สุด
3. ข้อควรระวังในการสังเกตวัตถุหรือสิ่งของต้องไม่เป็นอันตรายต่อประสาทสัมผัส เช่น การใช้ประสาทสัมผัสทางลิ้น การชิมสารที่เป็นอันตราย หรือการสัมผัสกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดเป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)